Kumamon : Tourist Champagne

 

 

 

jumbotron

image cr : http://www.kumamon-sq.jp/en/

หมีดำแก้มแดงที่เป็นกระแสในไทยช่วงนี้ หลายคนชอบความน่ารัก ทะเล้น และความมีเอกลักษณ์ของคุมะมง ที่แค่เห็นแว่บแรกก็ทำให้ยิ้มได้แล้ว ที่ไปที่มาของคุมะมงหลายเว็บไซต์อาจจะนำเสนอไปเยอะแล้ว ส่วนตัวเราสนใจเรื่องวิธีการสร้างแบรนด์ รวมถึงส่งเสริมให้คนในชุมชนสามารถมี”ส่วนร่วม”กับคุมะมงและสร้างความสุขให้กับทุกคน เป็นสิ่งที่เราประทับใจมาก

https://youtu.be/H_4K7wxbSPE?t=20m33s

cr : Thai PBS channel

จากที่เราเกริ่นข้างต้น สิ่งที่เราชอบมากที่สุดหลังจากดูสารคดีตอนนี้ คือ การที่เจ้าของกิจการหิ้งพระ “กล้า” ที่จะนำคุมะมงมาใส่ไว้ในส่วนต่างๆในหิ้งพระ เพื่อเพิ่มความน่าสนใจให้กับสินค้าอย่างน่าฉงน ก่อนหน้านี้เจ้าของร้านบอกว่า กิจการไม่ดีจนเกือบต้องผิดร้าน แต่พอมีคุมะมงเข้ามา ทุกอย่างก็ดีขึ้นมาก เค้ามีความสุข และได้แบ่งปันให้กับคนที่มาเยี่ยมชมและลูกค้า ในบทสนทนาเราจะเห็นว่า แม้แต่ผู้บรรยายเองก็ยังไม่มั่นใจเลยว่า เรื่องศาสนาที่เหมือนจะเป็นของสูง คนญี่ปุ่นยังกล้าคิดในการดัดแปลงสิ่งที่ดูขัดกันมากๆ และผสมผสานมันกลมกลืนและเข้ากันได้อย่างดีเมื่อเป็นผลิตภัณฑ์ โดยทิ้งแนวคิดเก่าๆเรื่องหิ้งพระออกไป (เราคิดว่าเรายังอยากได้หิ้งพระนี้มาไว้ในบ้านเลยถ้ามีคนนำเข้ามาขาย)

cr : https://www.youtube.com/watch?v=H_4K7wxbSPE&feature=youtu.be
cr : https://www.youtube.com/watch?v=H_4K7wxbSPE&feature=youtu.be

ส่วนหนึ่งต้องยกความดีให้กับ Kundo Koyama ผู้สร้างภาพลักษณ์ให้คุมะมง (ในตอนแรกคุมะมงมีแค่โลโก้หมีแก้มแดงเฉยๆ แต่ไม่มีมีคาแรคเตอร์หรือความทะเล้นในแบบทุกวันนี้) รวมถึงทีมงานที่ช่วยในการทำงาน และ การประชาสัมพันธ์ สร้างภาพลักษณ์ให้กับหมีคุมะมงจนมีชื่อเสียง ดึงดูดให้คนมาเที่ยวที่เมืองเล็กๆอย่างยามาโมโต้มากขึ้น เศรษฐกิจดีขึ้น ทุกคนในเมืองก็มีความสุขเพราะคุมะมง หลังจากที่เราดูจบ เรายังรู้สึกมีความสุขตามเลย ให้ตายสิ!!!

พอเรามองย้อนกลับมาที่บ้านเราเมืองเรา สิ่งที่เราคิดว่าอย่างแรกที่ทุกๆคนสามารถเปลี่ยนแปลงได้เลยคือ การทำให้คนอื่นมีความสุข สิ่งที่ทำให้คุมะมงประสบความสำเร็จ คือ การที่คุมะมงอยากให้ทุกคนมีความสุข ถึงแม้คุมะมงจะถูกสร้างขึ้นมาเพื่อการตลาด แต่ความจริงใจและความตั้งใจที่จะให้คนอื่นรู้สึกดีมีความสุขในครั้งแรก นั่นก็เพียงพอที่จะทำให้สิ่งอื่นๆที่ตามมาดีใช่ไหมครับ

อย่างที่สองคือ การคิดอย่างสร้างสรรค์ และไม่ยึดกับขนบเดิมๆเสมอไป อันนี้เป็นกลไกในความสำเร็จของคุมะมง จากหมีธรรมดา กลายเป็นขวัญใจคนทั้งญี่ปุ่น เพราะความคิดสร้างสรรค์ (ผมยกเคสหิ้งพระที่มีคุมะมงครับ เป็นกรณีที่ผมประทับใจที่สุด)

ตอนนี้จังหวัดบ้านเกิดเราเองก็อยู่ในช่วง “พีค” อย่างสุด แต่วันนึงถ้าหากไม่ได้มีการบูรณาการอย่างสร้างสรรค์ในการอยู่ร่วมของคนในพื้นที่ กับ สถานที่ท่องเที่ยวในระยะยาว ถึงจะมี “คุมะมง” มาช่วยในตอนนั้น เราเกรงว่ามันก็อาจจะสวยเกินไป ถ้าไม่ได้คิดเรื่องความสมดุลของการท่องเที่ยวและการอยู่ร่วมกันในชุมชนระยะยาว

บล็อกตอนนี้บันทึกทั้งความประทับใจ และ สร้างจุดหยุดคิดสำหรับตัวเราเองด้วย

🙂